ประวัติจังหวัดสุราษฎร์ธานี

จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ชนพื้นเมือง ได้แก่ เซมัง และมาลายูดั้งเดิม ชนพื้นเมืองเหล่านี้อาศัยอยู่ในเขตลุ่มน้ำหลวง และรอบบริเวณอ่าวบ้านดอน ก่อนที่ชาวอินเดียจะเข้ามาตั้งถิ่นฐานเผยแพร่วัฒนธรรม ดังปรากฏหลักฐานในชุมชนโบราณที่อำเภอท่าชนะ และอำเภอไชยา มีหลักฐานว่าในพุทธศตวรรษที่ 13 บริเวณนี้เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย เมื่ออาณาจักรนี้เสื่อมลง จึงแยกออกเป็น 3 เมือง คือ เมืองไชยา เมืองท่าทอง และเมืองคีรีรัฐ ขึ้นตรงต่อเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้ย้ายเมืองท่าทองมาตั้งที่บ้านดอน (ตัวเมืองปัจจุบัน) และยกฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร พระราชทานนามว่า เมืองกาญจนดิษฐ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดิน ให้จัดตั้งมณฑลขึ้นโดยได้โปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองไชยา กาญจนดิษฐ์ หลังสวน และชุมพร เป็นมณฑล เรียกว่า มณฑลชุมพร เมื่อ พ.ศ.2441 และตั้งศาลาว่าการมณฑลที่เมืองชุมพร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2458 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลาว่าการมณฑลชุมพรมาตั้งที่ บ้านดอน พร้อมทั้งพระราชทานนามให้ใหม่ว่า “ เมืองสุราษฎร์ธานี ” เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าราษฎรมีกิริยามารยาทเรียบร้อย ตั้งมั่นในศีลธรรมและหลักพระพุทธศาสนา พร้อมกันนี้ได้พระราชทานเปลี่ยนชื่อแม่น้ำสายหลักของเมืองพุทธศาสนา พร้อมกันนี้ได้พระราชทานเปลี่ยนชื่อ แม่น้ำสายหลักของเมือง ซึ่งราษฎรเรียกว่า แม่น้ำบ้านดอนบ้าง แม่น้ำหลวงบ้าง และแม่น้ำท่าข้ามบ้างเป็น “แม่น้ำตาปี” เนื่องจากแม่น้ำนี้เป็นลุ่มน้ำสายใหญ่ มีน้ำตลอดปี และใหญ่กว่าแม่น้ำสายใดในเขตมณฑลปักษ์ใต้ พื้นที่ลุ่มน้ำเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ มีราษฎรตั้งบ้านเรือนประกอบการเพาะปลูกและการค้าขายจำนวนมาก นับได้ว่าเป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งในราชอาณาจักรสยาม จึงได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามของแม่น้ำใหม่ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงสืบไป

ข้อมูลสังคมเศรษฐกิจจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี 2551 ดาวโหลดข้อมูลได้ที่นี้
ข้อมูลสังคมเศรษฐกิจจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี 2553 ดาวโหลดข้อมูลได้ที่นี้
ข้อมูลสังคมเศรษฐกิจจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี 2554 ดาวโหลดข้อมูลได้ที่นี้

ปรับปรุงข้อมูล วันที่ XX กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ปรับปรุงข้อมูล วันที่ xx กรกฎาคม พ.ศ. 2557